ในกรณีฉุกเฉิน (ICE)
ในกรณีฉุกเฉิน (อังกฤษ: In Case of Emergency: ICE) เป็นโปรแกรมที่ออกแบบมาเพื่อให้เจ้าหน้าที่เผชิญเหตุเบื้องต้น เช่น เจ้าหน้าที่ทางการแพทย์ นักผจญเพลิง เจ้าหน้าที่ตำรวจ ตลอดจนบุคลากรทางการแพทย์ในโรงพยาบาลสามารถติดต่อกับญาติที่ใกล้ชิดกับเจ้าของโทรศัพท์เคลื่อนที่ เพื่อรับการแจ้งข้อมูลหรือสนับสนุนและยินยอมในการดำเนินการทางการแพทย์ (ซึ่งโทรศัพท์เคลื่อนที่จะต้องปลดล็อกและใช้งานได้อยู่) โดยรายชื่อนั้นจะต้องระบุข้อมูลเพิ่มเติมได้อย่างชัดเจนเป็นลายลักษณ์อักษรและบ่งบอกตัวตนได้ (เช่น กระเป๋าเงิน สร้อยข้อมือ หรือสร้อยคอที่ระบุข้อมูลทางการแพทย์) โปรแกรมนี้เริ่มต้นขึ้นช่วงกลางคริสต์ทศวรรษที่ 2000 โดย บ็อบ บรอทชี่ เจ้าหน้าที่ทางการแพทย์ชาวอังกฤษในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2548 ซึ่งส่งเสริมให้ผู้คนระบุข้อมูลติดต่อฉุกเฉินลงในสมุดโทรศัพท์เคลื่อนที่ของตนด้วยชื่อว่า "ICE" หรืออาจจะระบุมากกว่าหนึ่งรายชื่อติดต่อฉุกเฉินโดยบันทึกเป็น "ICE1", "ICE2" เป็นต้น
โปรแกรมนี้ถูกตั้งคำถามและวิพากษ์วิจารณ์โดยหน่วยเผชิญเหตุในเยอรมนี และบนเว็บไซต์ HoaxBuster
ภาพรวม
[แก้]จากการศึกษาวิจัยโดยโวดาโฟนพบว่า ผู้คนน้อยกว่า 25% ที่แจ้งรายละเอียดว่าควรจะต้องโทรติดต่อใครหลังจากประสบอุบัติเหตุร้ายแรง โดยมีแคมเปญเพื่อสนับสนุนโครงการนี้ในช่วงต้นเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2548 โดย บ็อบ บรอทชี่ เจ้าหน้าที่หน่วยบริการรถพยาบาลฉุกเฉินฝั่งตะวันออก (East of England Ambulance Service) ของสหราชอาณาจักร โดยแนวคิดนี้เริ่มต้นขึ้นมาหลังจากเหตุระเบิดในลอนดอน 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2548[1]
โดยบรอทชี่ได้ให้สัมภาษณ์กับสถานีวิทยุบีบีซี รายการทูเดย์ เมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2548 ว่า:[1]
"ผมกำลังนึกถึงการโทรที่ยากลำบากที่ฉันเคยประสบ ในสถานการณ์เหล่านั้นพวกเขาไม่สามารถพูดคุยโต้ตอบกับผมได้เนื่องจากการบาดเจ็บหรืออาการป่วย และเราไม่สามารถทราบได้ว่าเขาเป็นใคร ผมค้นพบว่าผู้คนจำนวนมากในปัจจุบันพกพาโทรศัพท์มือถือ พวกเราใช้มันเพื่อค้นหาว่าผู้บาดเจ็บเป็นใคร ผมคิดได้ว่า หากเรามีแนวทางปฏิบัติเดียวกันในการค้นหาข้อมูลผู้ติดต่อฉุกเฉินในโทรศัพท์มือถือ นั่นจะทำให้ทุกคนทำงานง่ายขึ้น"
บรอทชี่ ยังเรียกรร้องให้ผู้ผลิตโทรศัพท์เคลื่อนที่สนับสนุนแคมเปญด้วยการเพิ่มหัวข้อ ICE ลงในรายชื่อผู้ติดต่อภายในโทรศัพท์เคลื่อนที่ใหม่ทั้งหมด
และด้วยข้อมูลที่จำเป็นและข้อมูลทางการแพทย์เหล่านี้ จะทำให้ผู้ปฏิบัติงานฉุกเฉินสามารถเข้าถึงข้อมูลที่จำเป็นเหล่านี้จากโทรศัพท์เคลื่อนที่ของเหยื่อได้ในกรณีที่ประสบเหตุฉุกเฉิน โดยเฉพาะในกรณีที่บาดเจ็บสาหัส จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องทราบข้อมูลเหล่านี้ในชั่วโมงทองแห่งชีวิต (Golden hour) ซึ่งส่งผลสำคัญช่วยเพิ่มโอกาสรอดชีวิตของเหยื่อได้
ด้วยข้อมูลเพิ่มเติมและข้อมูลทางการแพทย์นี้ ผู้ปฏิบัติการฉุกเฉินเบื้องต้นจะสามารถเข้าถึงข้อมูลนี้จากโทรศัพท์ของเหยื่อได้ในกรณีเกิดเหตุฉุกเฉิน ในกรณีที่เกิดการบาดเจ็บสาหัส จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีข้อมูลนี้ภายในชั่วโมงทอง ซึ่งจะช่วยเพิ่มโอกาสรอดชีวิตได้
การวิพากษ์วิจารณ์
[แก้]ในเยอรมนี แนวคิดเรื่อง ในกรณีฉุกเฉิน ได้รับการวิพากษ์วิจารณ์ด้วยเหตุผลหลายประการ:[2]
- เจ้าหน้าที่ทางการแพทย์ฉุกเฉินในพื้นที่มักไม่มีเวลาติดต่อกับญาติ ข้อมูลดังกล่าวที่เก็บไว้ในโทรศัพท์จึงไม่มีความจำเป็นในการปฐมพยาบาลก่อนนำส่งโรงพยาบาล
- การติดต่อกับญาติของผู้ได้รับบาดเจ็บสาหัสเป็นงานที่มีความละเอียดก่อน ซึ่งไม่ได้ติดต่อทางโทรศัพท์ในขั้นตอนแรก ๆ
โดยแนะนำให้พกข้อมูลในการติดต่อและข้อมูลที่จำเป็นทางการแพทย์ไว้เป็นลายลักษณ์อักษรเก็บไว้ในกระเป๋าเงินของตนเอง และไม่ควรใช้วิธีการในระบบ ICE เป็นวิธีการหลักในการระบุตัวตนจะดีกว่า
สำหรับปัญหาอื่น ๆ ได้แก่ ข้อความย่อที่ขึ้นอยู่กับภาษา (เช่น ICE เป็นตัวย่อในภาษาอังกฤษ ส่วนในภาษาฝรั่งเศสใช้ตัวย่อว่า ECU) ความยากในการปลดล็อกโทรศัพท์ โทรศัพท์เสียหาย ความแตกต่างในการใช้งานของโทรศัพท์เคลื่อนที่รุ่นต่าง ๆ ที่จำเป็นจะต้องมีการฝึกอบรมเจ้าหน้าที่เผชิญเหตุฉุกเฉินเข้าใจก่อน
สมาร์ทโฟนในปัจจุบันหลายรุ่นมีฟังก์ชันข้อมูลติดต่อ ICE โดยเฉพาะไม่ว่าจะในตัวระบบปฏิบัติการเองหรือในแอปพลิเคชันเสริมก็ตาม การบันทึกหมายเลขโทรศัพท์ที่ซ้ำกันในโทรศัพท์โดยไม่มีฟังก์ชัน ICE โดยเฉพาะ อาจจะทำให้รายชื่อ ICE และรายชื่อปกติปะปนกัน ทำให้เกิดปัญหา ID ผู้โทรล้มเหลวในการรับสายเรียกเข้าจากเพื่อนสนิทหรือญาติ (เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหานี้ บางคนใช้รูปแบบ 'tel:' URI เพื่อใส่หมายเลขโทรศัพท์ลงในช่อง 'หน้าแรก' ของผู้ติดต่อ ICE)
สมาร์ทโฟนหลายรุ่นมีฟังก์ชันข้อมูลติดต่อ ICE โดยเฉพาะไม่ว่าจะมีอยู่ในระบบปฏิบัติการหรือเป็นแอปก็ตาม การบันทึกหมายเลขโทรศัพท์ที่ซ้ำกันในโทรศัพท์โดยไม่มีฟังก์ชัน ICE เฉพาะอาจทำให้ ICE และรายชื่อติดต่อปกติรวมกัน หรือทำให้ ID ผู้โทรล้มเหลวสำหรับสายเรียกเข้าจากเพื่อนสนิทหรือญาติ (เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหานี้ บางคนใช้รูปแบบ 'tel:' URI เพื่อใส่หมายเลขโทรศัพท์ลงในช่อง 'หน้าแรก' ของผู้ติดต่อ ICE)
นอกจากนี้ ยังมีระบบที่สร้างขึ้นมาเพื่อใช้งานในรูปแบบเดียวกัน เรียกว่า E.123 ซึ่งเป็นไปตามมาตรฐานสำนักโทรคมนาคมของสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ (ITU-T)
ส่วนเว็บไซต์ HoaxBuster ได้จัดประเภทข้อมูลของโปรแกรม ICE นี่ว่า "จริงบ้าง เท็จบ้าง"[3]
โทรศัพท์ที่ถูกล็อก
[แก้]ด้วยเหตุผลด้านความปลอดภัย เจ้าของโทรศัพท์เคลื่อนที่จำนวนมากเปิดใช้งานฟังก์ชันการปิดล็อกโทรศัพท์ของตน โดยกำหนดให้ต้องป้อนรหัสผ่านหรือ PIN เพื่อเข้าถึงอุปกรณ์ ซึ่งการล็อกดังกล่าวทำให้ผู้เผชิญเหตุคนแรกไม่สามารถเข้าถึงรายการ ICE ในโทรศัพท์ เพื่อแก้ไขปัญหานี้ ผู้ผลิตโทรศัพท์หลายรายได้จัดทำกลไกเพื่อที่จะระบุข้อความที่จะแสดงในหน้าจอขณะที่โทรศัพท์ยังคงถูกล็อกอยู่ โดยเจ้าของโทรศัพท์สามารถระบุผู้ติดต่อ "ในกรณีฉุกเฉิน" และผู้ติดต่อ "ของหายและค้นพบ" (Lost and Found) สำหรับผู้ใช้แอนดรอยด์ที่ใช้แอนดรอยด์เวอร์ชัน 7.0 ขึ้นไปยังสามารถจัดเก็บข้อมูลฉุกเฉินและข้อมูลการติดต่อที่ผู้อื่นสามารถเข้าถึงได้ด้วยการแตะหรือปัดหน้าจอไปที่หน้าจอฉุกเฉินในระหว่างที่โทรศัพท์ล็อกอยู่[4][5] ส่วนของผู้ใช้ไอโฟนสามารถเพิ่มรายชื่อผู้ติดต่อฉุกเฉินได้บนหน้าจอล็อกของโทรศัพท์เช่นกันผ่านแอปพลิเคชัน iOS Health ซึ่งเข้าถึงได้ผ่านการแตะหรือปัดไปที่หน้าจอฉุกเฉิน สำหรับโทรไปยังหมายเลขฉุกเฉิน 911 หรือหมายเลขอื่นที่บันทึกไว้ได้ล่วงหน้า รวมถึง Medical ID ก็จะแสดงให้เห็นด้วยเช่นกัน โดยจะระบุถึงชื่อผู้ใช้ ข้อมูลด้านสุขภาพ อาการแพ้ ยาที่ทาน พร้อมกับรายชื่อผู้ติดต่อฉุกเฉินที่บันทึกเอาไว้[6][4]
ในโทรศัพท์บางรุ่น สามารถเข้าถึงรายชื่อผู้ติดต่อ ICE ได้โดยตรงจากหน้าจอล็อก และสามารถโทรหารายชื่อ ICE ได้ด้วยการกดปุ่มฉุกเฉินที่ตั้งค่าเอาไว้[7] นอกจากนี้ยังมีแอปพลิเคชันของสมาร์ทโฟนที่อนุญาตให้รายชื่อ ICE ที่กำหนดเองและข้อมูลฉุกเฉินแสดงให้เห็นบนหน้าจอ "ล็อก" ตัวอย่างเช่น แอปพลิเคชัน Medical ID สำหรับแอนดรอยด์ที่ช่วยให้เข้าถึงข้อมูลทางการแพทย์และรายชื่อผู้ติดต่อในกรณีฉุกเฉินได้อย่างรวดเร็ว
ความนิยม
[แก้]ความนิยมในการใช้งานโปรแกรมดังกล่าวประเมินได้ยาก โดยบทความของซีเอ็นเอ็นระบุว่าโปรแกรมนี้อาจจะถูกใช้งานอย่างแพร่หลายในทวีปอเมริกาเหนือ แต่บทความดังกล่าวได้ให้คำแนะนำที่แตกต่างกันต่อผู้อ่าน[8]
ดูเพิ่ม
[แก้]- E.123 — ICE ในเวอร์ชันที่ไม่ขึ้นกับภาษาที่ใช้
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 "Mobiles 999 contact idea spreads – BBC news report on ICE scheme". news.BBC.co.uk. BBC News. 12 July 2005. สืบค้นเมื่อ 28 August 2020.
- ↑ "Private Notfallnummern (ICE) im Mobiltelefon: Richtigstellung des Arbeiter-Samariter-Bundes". 26 August 2009. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 December 2009. สืบค้นเมื่อ 28 February 2010., in German
- ↑ "For your ICE only". Hoaxbuster.com (ภาษาฝรั่งเศส). สืบค้นเมื่อ 29 October 2017.
- ↑ 4.0 4.1 "วิธีตั้งค่าโทรฉุกเฉินขณะล็อกหน้าจอ ทั้ง Android และ iPhone". kapook.com. 2015-11-09.
- ↑ "How to Add Emergency Information in Android Nougat". TomsGuide.com. Bath, United Kingdom: Future Publishing Limited. 10 December 2016. สืบค้นเมื่อ 28 August 2020.
- ↑ Jill Duffy. "How to add an emergency contact to your phone's lock screen". PCMag.com. ZiffDavis, LLC. สืบค้นเมื่อ 2017-09-19.
- ↑ "คู่มือผู้ใช้ Nokia 2720". www.nokia.com.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ Elizabeth Cohen (7 February 2008). "If you get hit by a bus tomorrow". CNN.com. Cable News Network. Turner Broadcasting System, Inc. สืบค้นเมื่อ 28 August 2020.